Saturday, November 20, 2010

อันตรายของยาฆ่าหญ้า น้องๆลองไปสังเกตุที่บ้านว่าใช้ไหม

จากการทดลองค้นคว้า

การศึกษาวิจัยล่าสุดจากสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติกแสดงให้เห็นว่า ยาฆ่าหญ้า "ราวด์อัพ" ซึ่งเป็นยาฆ่าวัชพืชที่ใช้กันมากที่สุดในโลก มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่นำทีมโดยศาสตราจารย์ไจลส์-เอริค เซราลีนี (Gilles-Eric Seralini) จากมหาวิทยาลัยกัง (Caen) ในฝรั่งเศส พบว่า เซลล์ในรกมนุษย์มีปฏิกิริยาต่อยาฆ่าหญ้า "ราวด์อัพ" ในระดับความเข้มข้นที่ต่ำกว่าที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบันด้วยซ้ำ การศึกษาประชากรที่เป็นเกษตรกรในเมืองออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ชี้ให้เห็นว่า การสัมผัสกับสารไกลโฟเซท (glyphosate) ซึ่งเป็นสารประกอบสำคัญในราวด์อัพ ทำให้ความเสี่ยงต่อการแท้งลูกเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ศาสตราจารย์เซราลีนีกับคณะจึงตัดสินใจวิจัยถึงผลกระทบของยาฆ่าวัชพืชที่มีต่ อเซลล์ของรกในครรภ์มนุษย์เพิ่มเติม การวิจัยของพวกเขายืนยันความเป็นพิษของไกลโฟเซท หลังการสัมผัสสารนี้ในความเข้มข้นต่ำเป็นเวลา 18 ชั่วโมง เซลล์รกของมนุษย์จำนวนมากจะเริ่มตาย นี่อาจอธิบายได้ว่าทำไมเกษตรกรสตรีที่ใช้สารพวกนี้จึงมักคลอดลูกก่อนกำหนดหรือแท้งลูก
คณะของศาสตราจารย์เซราลีนีศึกษาต่อถึงผลกระทบทางพิษวิทยาของสูตรยาราวด์อัพ ซึ่งนอกจากมีไกลโฟเซทเป็นสารประกอบสำคัญ ยังมีสารเคมีอื่น ๆ ผสมลงไปด้วย ผลการศึกษาพบว่า สารเสริมเหล่านี้ทำให้ความเป็นพิษของยาราวด์อัพมีมากกว่าสารไกลโฟเซทเดี่ยว ๆ เสียอีก การศึกษาวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ออกมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 จากมหาวิทยาลัยพิทสเบิร์กระบุว่า ราวด์อัพเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เป้าหมายของยาฆ่าหญ้านี้ด้วย นักชีววิทยาพบว่า ราวด์อัพมีอันตรายถึงตายต่อสัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ในงานวิจัยที่ถือว่าเป็นการศึกษาที่ครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของยา ฆ่าหญ้า/แมลงที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ได้ข้อสรุปว่า ราวด์อัพทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำลดลงไปถึง 70% และทำให้จำนวนลูกอ๊อดลดลงไปถึง 86% จนทำให้กบบางชนิดใกล้สูญพันธุ์แล้ว นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ชี้ว่า ราวด์อัพกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง และทำให้เกิดอันตรายในตับของหนูทดลอง
มอนซานโต ผู้ผลิตยาฆ่าหญ้าราวด์อัพ มักโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตนปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ที่ผลการวิจัยชี้ไปในทางตรงกันข้าม นอกจากนี้ มอนซานโตยังเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพืชเศรษฐกิจดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนทานต่อยา ฆ่าหญ้า และทำให้มีการใช้ยาฆ่าหญ้ามากขึ้น แทนที่จะลดลงอย่างที่บรรษัทเคยอ้างเอาไว้




สุดท้ายพี่ก็ขอฝากน้องๆ ไปบอกต่อที่บ้านนะครับว่ามันอันตรายมากๆๆ ต่อทุกๆคน




มาดูยาฆ่าหญ้าแบบชีวภาพกันว่าทำยังไงได้บ้าง



สูตรยาฆ่าหญ้าสูตรน้ำมันชีวภาพที่ไร้สารเคมีเป็นสูตรยาฆ่าหญ้าแบบเผาไหม้
สูตรผสมเข้มข้นมีดังนี้
1. ผงซักฟอกเข้มข้นซักเครื่องฝาบน 1 ช้อนโต๊ะยี่ห้อโปร (ขนาด 650 กรัม 30 บาท)
2. น้ำธรรมดา
3. ไบโอดีเซล (B100) (40 บาท/ลิตร) 25 ซีซี
4. น้ำมันเครื่อง SAE 40 ใช้แล้ว (10 บาท/ลิตร) 25 ซีซี
วิธีการผสม
1. น้ำผงซักฟอกโปรมีใส่ขวดขนาด 500 ซีซี
2. เติมน้ำในขวด
3. เขย่า 2-3 นาที ให้ผงซักฟอกละลายในน้ำจนหมดสิ้นเอาเฉพาะน้ำใสมาใช้งานเอา ตะกอนทิ้งนำน้ำใสใส่ขวด
4. น้ำไบโอดีเซลแบ่งเป็น 3 ส่วน ใส่ลงในขวด 1 ส่วน แล้ว เขย่า ประมาณ 1 นาที ทำแบบนี้ 3 ครั้ง ไบโอดีเซลจะเข้ากันดีกับน้ำผงซักฟอกจะเห็นเป็นน้ำขุ่นเหมือนน้ำนมสด
5. เดิมน้ำมันเครื่องแบ่งเป็น 3 ส่วน ใส่ลงในขวดตามข้อ 4 เขย่า ทำ 3 ครั้งก็จะเสร็จ
6. นำของผสมในขวดเก็บไว้ 50 ใช้งาน
ข้อควรระวัง
หากผิดขั้นตอนจะพบสิ่งผิดปกติดังนี้
- ผงซักฟอกไม่ละลายตกตะกอนนอนก้น
- มีสภาพเป็นน้ำมันแยกส่วนผสมเข้ากันไม่ได้น้ำมันสีเหลืองอยู่บนน้ำขุ่นอยู่ล่าง
สิ่งที่ควรเป็น
- สภาพของผสมเปลี่ยนจากสภาพน้ำมัน Oil-Base มาเป็นสภาพน้ำ Water-base
- สีจะเปลี่ยนจะสีน้ำมันเหลืองเป็นน้ำนมขุ่น
- ไม่มีตะกอนผงซักฟอก
วิธีการใช้งาน
- น้ำสารฆ่าหญ้าน้ำมันชีวภาพมาใส่ในน้ำในสัดส่วน 1.5-2.0 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ซีซี
- กวนให้เข้ากัน จะพบว่าสารผสมจะเป็นสีขุ่นขาว
- น้ำไปฉีดพ่นหญ้าด้วยหัวฉีดพ่นฝอยให้ชุมชื้น ซึ่งควรจะก่อนและหลังฝนตกอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ต้นทุนยาฆ่าหญ้าสูตรน้ำมันชีวภาพ
- ผงซักฟอกโปร 200 กรัม 10 บาท
- ไบโอดีเซล 1,000 กรัม 40 บาท
- น้ำมันเครื่อง 1,000 ซีซี 10 บาท
- น้ำธรรมดา 400 ซีซี 0 บาท
- รวม 2,600 ซีซี 60 บาท
คิดเป็นเงิน 60 บาท/2.6 ลิตร = 23 บาท/ลิตร
เทียบกับยาฆ่าหญ้าโกรโคเฟต 48 = 230 บาท/ลิตร
ราคาถูกกว่า 10 เท่า
ส่วนผสมของผงซักฟอกโปรสูตรซักมือและเครื่องฝาบน
- Anionic Surfactant
- Sodium Tripoli Phosphate
- Zeolite
- Sodium Carboxyl methyl cellulose
- Sodium Silicate
- Optical Brightener
- นีโอ-บลูบีคส์ คืนสภาพความขาวไม่หมอง ดูเหมืองใหม่อยู่เสมอ โดยไม่ทำลายเนื้อผ้า
- ให้ดูองค์ประกอบผงซักฟอก เพื่อเทียบเคียงหากใช้ยี่ห้ออื่นมาทดแทน หากซื้อหาสะดวกกว่าหรือถูกกว่า
ผลการทดสอบ
- ฉีดพ่นฆ่าหญ้า ใบแดง
- ฤทธิ์เผาไหม้
ใช้น้ำยาทำความสะอาดแทนผงซักฟอกโปรก็ได้จะได้ไม่มีกากตะกอนของผงซักฟอกอยู่ให้เป็นที่ติดขัดสเปร์พ่นฝอยน้ำ
- ใช้น้ำยาผลิตภัณฑ์ล้างผักและผลไม้ (Washing Liquid) เป็นสารช่วยชะล้างและขจัดคราบสกปรกต่างๆ จากสารกำจัดแมลงและไข่พยาธิที่ตกค้างในผลไม้ให้หลุดออกส่วนผสมดี Sodium Lauryl Ether Sulfate 70%
- หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นที่มี Sodium Lauryl Ether Sulfate
เอามาฝากที่มาจากhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=4190.0





หรือจะแบบนี้ก็ได้



เรื่อง หญ้าคากำจัดไม่ยาก

ฉบับนี้ขอแนะนำสูตรปราบหญ้าอย่างประหยัดและไม่เป็นพิษต่อคน และสัตว์ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เกษตรกรบางรายซื้อยากำจัดหญ้ามาใช้ ทั้งราคาแพง เกิดพิษต่อคนและสัตว์ ทำลายสิ่งแวดล้อม หญ้าที่เป็นปัญหาและปราบยาก คือ หญ้าคา ดังนั้นจึงจะขอเสนอสูตรกำจัดหญ้าให้สมาชิกชมรมผึ้งตอมดอกไม้ได้ไปทดลองทำใช้ดูหากได้ผลกรุณาบอกต่อ ๆ กันไปด้วย จะได้ประหยัดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำกินเอง ทำใช้เอง นี้คือ เบื้องต้นของเศรษฐกิจพอเพียง วัตถุที่จะแนะนำก็หาได้ง่ายราคาก็ถูก จึงขอแนะนำ 3 สูตร ดังนี้

1. สูตรกำจัดหญ้าคา

น้ำมันเครื่องเก่า 2 ลิตร ผงซักฟอกขนาดกล่องเล็ก ( ประมาณ10 บาท) 1 กล่อง เกลือแกง 1 กิโลกรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ฉีดพ่น ราดหญ้าคาให้ทั่ว อาจจะทำซ้ำอีก 1 – 2 ครั้ง ห่างกัน 10 – 15 วัน

2. สูตรกำจัดหญ้าในนาข้าว

เหล้าขาว 1 ขวด ผงซักฟอก 1 กล่อง (ประมาณ 10 บาท) เกลือแกง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 16 ลิตร ฉีดพ่นหญ้าในนาข้าวให้ทั่ว

3. สูตรกำจัดหญ้าหวาย น้ำมันโซล่า 2 ลิตร ผงซักฟอก ขนาดกล่องเล็ก ( ประมาณ 10 บาท) 1 กล่อง เกลือแกง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ฉีดพ่น ราดหญ้าหวายให้ทั่ว ทำซ้ำ 1 – 2 ครั้ง ห่างกัน 10 – 15 วัน เพราะหญ้าหวายรากยา

สูตรกำจัดหญ้าทั้ง 3 สูตรได้ทดลองทำแล้วได้ผลดี ใคร ๆ ก็ทำได้ หากท่านคิดจะกำจัดหญ้าก็ให้นึกถึง 3 สูตร นี้ด้วยครับ ท้ายนี้ขอแถมอีกสูตรหนึ่ง คือ สูตรกำจัดปูนาที่กัดกินนาข้าวเสียหาย และสูตรนี้ไม่เป็นอันตรายต่อน้ำด้วย คือ ใช้น้ำยาสระผมยี่ห้อ ซันซิล เท่านั้น 1 ขวด ผสมน้ำ 1 ลิตร ใช้ฉีดพ่นบริเวณที่จะกำจัดปู




ขอบคุณสาระดีๆจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2560e76221dc19fd

No comments:

Post a Comment